วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


                   ประเภทของบทอ่าน
มี4แบบ คือ


 1.Narration เป็นการเขียนแบบบรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ โดยทั่วไปมักจะใช้คำ Time order words and phrases เพื่อใช้ในการเขียน ดังนี้
Words
Phrases
First (second, etc)
Then
Next
Finally
Afterward
Meanwhile
At first
At exactly 01.00 am.
After a while
In the morning
In the meantime
 หมายเหตุ: ปกติแล้ว Time order words and phrases จะตามด้วยเครื่องหมาย Comma เมื่อวางอยู่ต้นประโยค แต่สำหรับ Then และ Now ไม่ตามด้วย Comma 
2.Description
เป็นการเขียนแบบพรรณนาโวหาร คือมีจุดมุ่งหมายในการเขียนเพื่อมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความ เป็นการพรรณาเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง (หรือบางคน) ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร (Look) กลิ่นเป็นอย่างไร (Smell) รสชาติเป็นอย่างไร (Taste) หรือเสียงเป็นอย่างไร (Sound) สิ่งสำคัญคือเขียนให้ผู้อ่านมองเห็นภาพของสิ่งที่เรากำลังเขียนถึง
Tip: ใช้ Spatial order words and phrases เช่น
At the top of
In the center
On the left
In front of
In the front of
Next to
Between
Behind
In back of
In the back of
Inside
Across from
3.Argumentative
เป็นการเขียนแบบสาธกโวหารคือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น  สมเหตุสมผล ทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็นเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสม

4. Expository
เป็นการเขียนแบบอธิบายโวหาร คือบทอ่านที่มีการเขียนแบบอธิบายชี้แจงเสนอความรู้และแสดงเหตุผลหรือความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง